วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

                     

   

     ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
           คนเราทุกวันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอก การรับรู้ข่าวสาร เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์การรับฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ โทรสาร ก็เป็นการใช้เทคโลยีสารสนเทศ จากจากนั้น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัต (ตู้เอทีเอ็ม) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ไม่เฉพาะคนในเมืองเท่านั้น แม้แต่คนในชนบทก็ยังมีส่วนต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันด้วย เช่น เมื่อไปทำบัตรประจำตัวประชาชนที่อำเภอ ทางอำเภอจะเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลกลาง ของสำนักทะเบียน กระทรวงมหาดไทยซึ่งเชื่อมเป็นเครือข่ายไปทั่วไปประเทศ สามารถเรียกดูได้ทันที เราเรียกระบบที่ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายที่สามารถเยกใช้ทันที เช่นนนี้ว่า ระบบออนไลน์ ซึ่งมีประโยชน์มากและเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นและได้ผลดีมาก เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันทั่วประเทศ และสามารถเห็นได้พร้อมกันทั่วประเทศ อีกกรณีหนึ่งคือ การไปรับบริการรักษาตามโรงพยาบาล เมื่อก่อนนี้โรงพยาบาลต่าง ๆ มีระบบเวชระเบียน และผู้ป่วยแต่ละคนจะมีบัตรประจำตัวซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี เพราะเมื่อไปติดต่อครั้งต่อไปเจ้าหน้าที่จะขอดูบัตรหากไม่มีบัตรและเลขที่ประจำตัวไม่มีก็ค้นหาได้ยากมาก แต่ในปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการกับปัญหาดังกล่าว เพียงแต่ผู้ป่วยสามารถบอกชื่อนามสกุลได้


ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช่สำหรับวิชาพลศึกษา

                       

                                  ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช่สำหรับวิชาพลศึกษา  

    คือการที่เราใช้อินเตอร์เน็ตในการเรียนรู้เพื่อหาประสบการณ์ในอีกด้านหนึ่ง เพื่อใช้ในการเรียนหรือการฝึกทักทักษะ โดยการเราเข้าเน็ตหาวิดิโอยูทูปเพื่อหาดูทักษะต่างๆแล้วนำมาฝึกฝนเพื่อเกิดการพัฒนาในตัวเอง และอาจจะใช้นำไปฝึกสอนได้ เมื่อเราเป็น ครู


ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้สำหรับครู

                             


ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้สำหรับครู

-  ใช้อินเตอร์เน็ต
-  การรับสัญญาณดาวเทียมในการสอน


การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างครูและเทคโนโลยี 

1. การใช้เทคโนโลยีที่ดี ครูต้องมีวิสัยทัศน์ ด้านความสามารถในการใช้และเลือกใช้ให้ตรงตามโอกาส และสถานที่
2. การฝึกอบรม เวลาในการสนับสนุน (Just-in-time Support) และเวลาในการฝึกประสบการณ์ ดังนั้นครูต้องมีแรงดลใจและความกล้าที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
3. การใช้เทคโนโลยีช่วยเปลี่ยนแปลงการสอนของครู
4. การใช้ในลักษณะที่ครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-centered) ครูต้องมีการฝึกฝนและปฏิบัติเพื่อให้มีความชำนาญในทักษะพื้นฐานหรือผนวกในการควบคุมกิจกรรมด้วยตนเอง
5. การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการสอนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered) ต้องช่วยให้ผู้เรียนได้สืบค้น เกิดกิจกรรมที่มีความร่วมมือกัน โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้แนะนำ โดยครูต้องมีความกระตือรือร้นในการใช้เทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้สนับสนุนการสอนได้หลายแบบ
6. การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเพื่อร่วมงาน ผู้บริหาร ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญในชุมชน
7. การช่วยให้ครูใช้เทคโนโลยีอย่างได้ผลจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นใจที่จะยอมรับและนำไปใช้ให้เกิดผลจริง ในอนาคต
8. ขาดการลงทุนที่เพียงพอในการฝึกอบรมครูให้สามารถใช้เทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จในการสอน เพราะส่วนใหญ่จะใช้งบประมาณจำนวนมากในการเพิ่มฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ 

ประวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ

                         

ประวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ      

    
        มนุษย์มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดของมนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาภาษาพูด หรือการติดต่อโดยการใช้รหัสอื่นๆ เช่น มือ หรือท่าทางต่างๆ  คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ จนกระทั่งการพัฒนาภาษาเขียนที่เป็นสัญลักษณ์และตัวอักษร นอกจากการพัฒนาการสื่อสารดังกล่าวแล้ว มนุษย์ก็ยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารทางไกล ซึ่งเกิดขึ้นจากการขยายเผ่าพันธุ์ที่มีจำนวนมากขึ้น การโยกย้ายเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ทำให้เกิดความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารทางไกล ด้วยความสามารถในการบันทึกข้อความหรือข่าวสารลงในกระดาษหรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำให้มนุษย์พัฒนาระบบไปรษณีย์ขึ้นเพื่อใช้เป็นบริการในการติดต่อสื่อสารข่าวสารข้อมูลทางไกล และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรับส่งข่าวสารให้รวดเร็วยิ่งขึ้น




ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

                     

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ